|
<a href="https://www.databet63.com"> เนเธงเนเธเธเธญเธฅเธญเธญเธเนเธฅเธเน </a> โ
[url=https://www.databet63.com/]เนเธงเนเธเธเธญเธฅเธญเธญเธเนเธฅเธเน[/url |
ความเห็นคุณ: Databet63 |
|
ข้อมูลความเป็นพิษของกระดุมทอง สามารถอ่านได้ที่ http://journal.msu.ac.th/wp-content/uploads/2014/04/ScO-002.pdf |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
ดื่มน้ำคั่นย่านางทุกวัน จะเกิดอันตรายหรือไม่
1. เนื่องจากย่านางเป็นสมุนออกฤทธิ์เย็น การดื่มน้ำคั้นใบย่านางปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันทุกวัน นานเกินไป อาจทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่ดี เกิดอาการชามือ เท้า อ่อนแรง ปวดข้อกระดูกได้ง่าย และอาจกระตุ้นให้ตับอักเสบได้ดังนั้นควรมีระยะหยุดพัก เช่น ทาน 7 วันเว้น 7 วัน หรือทาน 4 เว้น 3 วันค่ะ ดื่มวันละ 1 แก้ว หรือมื้อละ 1 แก้วค่ะ (โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เว็บไซต์ : http://abhaiherb.com/faq/2984)
2. กล่าวโดยสรุปคือน้ำใบย่านางน่าจะมีประโยชน์จากสารอาหารที่มีอยู่หลายชนิด แต่สรรพคุณบางอย่างที่มีการอ้างถึงก็ยังไม่มีหลักฐานวิชาการรองรับ เช่น ทำให้แก่ช้า ต้านมะเร็ง หรือการรักษาโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงได้ การดื่มในปริมาณที่มากผิดปกติยังไม่มีข้อมูลถึงความปลอดภัยหรืออันตรายที่จะเกิดในระยะยาว จึงอาจใช้ดื่มเป็นเครื่องดื่มเสริมได้ แต่ถ้าดื่มมากเกินไปเช่นการดื่มแทนน้ำก็อาจจะไม่ควร (นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. ประโยชน์ของการดื่มน้ำใบย่านาง . มูลนิธีสัมมาอาชีวะ. http://www.summacheeva.org/index_article_triliacora.htm)
เอกสารอ้างอิง
1. วราภรณ์ วิชญรัฐ. ไม้เลื้อยกินได้. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิยาสาส์น 2548.
2. ปานทิพย์ บุญส่ง, ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์, อรพิน เกิดชูชื่น. การวิเคราะห์สารประกอบ polyphenolics และสารให้สีจากใบ Tiliacora triandra (Diels). วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 2552;40(3):13-6.
3. Pavanand K, Webster HK, Yongvanitchit K, Dechatiwongse T. Antimalarial activity of Tiliacora triandra diels against Plasmodium falciparum in vitro. Phytother Res. 1989;3(5):215-7.
4. Tanvetyanon T, Bepler G. Beta-carotene in multivitamins and the possible risk of lung cancer among smokers versus former smokers: a meta-analysis and evaluation of national brands. Cancer. 2008; 113(1):150-7.
3. เริ่มต้นจากการตรวจสอบงานวิจัยของย่านางกันก่อน เภสัชกรหญิงผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอธิบายว่า มีงานวิจัยเรื่องย่านาง 4-5 เรื่อง ซึ่งทุกเรื่องเป็นการวิจัยในหลอดทดลอง ทั้งเพื่อหาสารสำคัญที่มีฤทธิ์ลดไข้ ลดการอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังไม่มีการศึกษาในคน จึงไม่สามารถสรุปอะไรได้ ส่วนข้อบ่งชี้ว่า ย่านางมีสรรพคุณช่วยล้างพิษนั้น ยังไม่มีการทำงานวิจัยเลย ก็ไม่สามารถยืนยันในเชิงวิทยาศาสตร์ได้เช่นกัน แม้จะไม่มีงานวิจัยรับรองอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีผู้นำย่านางไปใช้เพื่อดูแลสุขภาพมาตั้งแต่สมัยโบราณ คุณหมอบุญยืน ผ่องแผ้ว คลินิกหนองบ่งการแพทย์แผนไทย จังหวัดลพบุรี อธิบายว่า ย่านางเป็นไม้เถาขนาดกลาง เถามีความยาวประมาณ 15 เมตร มีรสขม แพทย์แผนไทยใช้รากย่านางเข้าเครื่องยา เบญจโลกวิเชียร หรือยาห้าราก มีสรรพคุณช่วยกระทุ้งพิษต่างๆ ถอนพิษยาเบื่อ ลดไข้ แก้ปวดหัว ใบมีสรรพคุณช่วยถอนพิษ ต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ส่วนประสบการณ์ผู้นำย่านางไปใช้จริงนั้น มีทั้งเกิดผลดีต่อสุขภาพคือ ช่วยลดไข้ แต่ในบางกรณีก็เกิดผลข้างเคียง คุณผกากรองเล่าว่า พบคนไข้คนหนึ่งกินน้ำคั้นใบย่านางติดต่อกันเป็นปี ทำให้มีอาการชาที่มือและเท้า แต่เมื่อให้หยุดกิน อาการชาก็หายเป็นปกติ นอกจากนี้คุณผกากรองยังพบคนไข้อีก 10 คน ที่มีอาการเวียนศีรษะ พอซักประวัติก็พบว่า ดื่มน้ำคั้นใบย่านางเป็นประจำและติดต่อเป็นเวลานาน เธอจึงแนะนำให้คนไข้หยุดดื่ม ซึ่งก็ทำให้อาการดังกล่าวค่อยๆ หายไป (คอลัมน์ เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 347 (16 มีนาคม 2556) : http://cheewajit.com/articleView.aspx?cateId=1&articleId=2391)
4. ใบของย่านาง 100 g ประกอบด้วย calcium 155 mg, phosphorous 11 mg, ธาตุเหล็ก 7 mg, vitamin A 30.625 units, vitamin B1 0.03 mg, vitamin B2 0.36 mg, vitamin C 141 mg และเส้นใย 7.9 g (1) ส่วนรากสกัดได้สารกลุ่ม alkaloids เช่น tiliacorinine, tiliacorine, และ nortiliacorinine ใช้ลดไข้ รักษามาลาเรีย (2,3) จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของใบย่านาง พบว่าไม่สามารถลดไข้ในกระต่าย ไม่มีผลลดความดันโลหิตในสุนัข แต่สามารถลดการบีบตัวของลำไส้ซึ่งตัดแยกจากลำตัว เนื่องจากฤทธิ์ต้านฮิสตามีนได้ และมีการทดสอบความเป็นพิษ ในหนูถีบจักรที่ได้ย่านางในขนาด 6,250 เท่าของขนาดที่ใช้ในคน ไม่พบความเป็นพิษ(4) ตามตำราเภสัชกรรมแผนไทย ของวัดมหาธาตุกล่าวไว้ว่า เถาของย่านาง ใช้ดับพิษไข้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ รากใช้แก้ไข้ หัด สุกใส (5) และรากย่านางยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งในพิกัดเบญจโลกวิเชียร ซึ่งมีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดเมื่อย (6) จากข้อมูลที่มีอยู่ไม่พบการศึกษาการใช้น้ำคั้นจากใบย่านางลดโคเลสเตอรอล หรือรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ (ศูนย์ข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=11937&gid=7)
เอกสารอ้างอิง
1. เกษม พินิจดุลอัฎ. 100 ปี เกษม พินิจดุลอัฎ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัมอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2549. 35.
2. Singthong J., Ningsanond S., Cui S.W. Extraction and physicochemical characterisation of polysaccharide gum from Yanang (Tiliacora triandra) leaves. Food Chemistry. 2009; 114:13017.
3. เอมอร โสมะพันธุ์. ยาจากสมุนไพร.พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. 257.
4. นันทวัน บุณยะประภัศร. ก้าวไปกับสมุนไพร เล่ม3. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์; 2530. 150-3.
5. ประเสริฐ พรหมณี. ตำราเภสัชกรรมไทยแผนโบราณ ของสมาคมแพทย์แผนโบราณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2531. 85.
6. กัญจนา ดีวิเศษ. คู่มือเภสัชกรรมแผนโบราณ. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2531. 44
5. ย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) ยังไม่พบรายงานการศึกษาความเป็นพิษ ของย่านางทางคลินิก มีแต่การทดลองในสัตว์ทดลองซึ่งพบว่า เมื่อป้อนและฉีดสารสกัด 50% เอทานอลจากใบแห้งเข้าใต้ผิวหนังหนูเม้าส์ ขนาด 10 ก./กก. ไม่พบความเป็นพิษ การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากทั้งต้นในหนูแรท พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดขนาด 5 ก./กก. ไม่พบพิษ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่ทำให้หนูตาย และไม่มีผลต่ออวัยวะภายใน สำหรับการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรัง โดยป้อนสารสกัดขนาด 300, 600 และ 1,200 มก./กก. นาน 90 วัน ก็ไม่พบความผิดปกติเช่นกัน ข้อมูลส่วนใหญ่จากการทดลองในสัตว์ทดลอง แสดงว่าย่านางค่อนข้างปลอดภัย แต่มีบางรายงานที่พบความเป็นพิษ เช่นการป้อนรากย่านาง ขนาด 2.5 ก./กก. ครั้งเดียวแก่หนูเม้าส์ทำให้หนูตายร้อยละ 80 อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในคนจึงไม่ทราบขนาดและระยะเวลาในการใช้ที่เหมาะสม หากต้องการใช้จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและใช้อย่างระมัดระวัง (ความเป็นพิษของใบย่านาง . สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. มหาวิทยาลัยมหิดล : http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5705) |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
ดื่มน้ำคั่นใบย่านางทุกวัน จะเกิดอันตรายหรือไม่? |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
วันที่ 28 เมษายน 2557
อ่านความรู้เรื่อง น้ำคลอโรฟีลล์ ได้ที่ http://sawangpattaya.org/sawangschool/index.php?topic=547.0
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=417559 |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
วันที่ 23 เมษายน 2557
อย.เตือน อย่าหลงเชื่อน้ำคลอโรฟิลล์รักษาสารพัดโรค
แถมหยอดตารักษาต้อกระจก สุดอันตรายอาจติดเชื้อจนตาบอดได้
อย.เผย มีผู้บริโภคร้องเรียนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคลอโรฟิลล์ชนิดน้ำราคาแพง โอ้อวดสรรพคุณว่าสามารถใช้หยอดตารักษาต้อกระจกและโรคอื่นๆ อีกสารพัด หวั่นผู้บริโภคเป็นอันตรายจากการติดเชื้ออาจตาบอดได้ ทั้งเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องและเสียเงินทองจำนวนมาก ย้ำ! ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยา ไม่สามารถรักษาโรคได้ อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด ทั้งนี้หากมีปัญหาเรื่องสุขภาพควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาดีกว่า
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า มีผู้บริโภคจากจังหวัดอำนาจเจริญร้องเรียนว่า พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งเป็นคลอโรฟิลล์ชนิดน้ำ ขนาดบรรจุ 500 มิลลิกรัม ราคา 980 บาท จัดจำหน่ายในลักษณะขายตรงและอวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค รวมทั้งยังอ้างว่าใช้หยอดตารักษาต้อกระจกได้อีกด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) มีความห่วงใยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง อีกทั้งมีราคาค่อนข้างแพง แล้วยังมีการนำไปใช้ อย่างผิดวัตถุประสงค์ ทำให้เสียโอกาสในการรักษาโรคที่ถูกต้อง เสียเงินโดยไม่จำเป็น มิหนำซ้ำอาจได้รับอันตราย หากผลิตภัณฑ์นั้นมีการผลิต ไม่ถูกสุขลักษณะ มีเชื้อโรคปนเปื้อน อาจทำให้ตาติดเชื้อ จนถึงขั้นตาบอดได้
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า คลอโรฟิลล์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผักใบเขียวทุกชนิด การบริโภคผักใบเขียวก็จะได้รับประโยชน์จากสารนี้ด้วย โดยปกติแล้วร่างกายได้รับคลอโรฟิลล์วันละประมาณ 5 มิลลิกรัมจากการบริโภคผักใบเขียว ปริมาณที่บริโภคนั้นควรยึดจากคำแนะนำที่ควรบริโภคบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตแล้ว และผู้บริโภค บางกลุ่ม ได้แก่ เด็ก สตรีมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมถึงผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันถึง คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ตามที่ มีการอวดอ้าง หากผู้บริโภคมีปัญหาในเรื่องสุขภาพ หรือมีการเจ็บป่วยต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้วินิจฉัย หาวิธีการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยที่ถูกต้องตามอาการของโรค ไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณา หรือใช้ผลิตภัณฑ์ในลักษณะที่ผิดวัตถุประสงค์ เช่น นำไปใช้หยอดตาเพื่อรักษาต้อกระจก เพราะการรักษาอาการป่วย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
ถ้าหากในแต่ละวันเราได้รับสารอาหาร 5 หมู่ ครบถ้วนและหลากหลายเพียงพอก็ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากการบริโภคสารสกัดเข้มข้น อาจทำให้ได้รับอันตรายจากการบริโภคได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรต้องพิจารณาความจำเป็นในการบริโภค ความสมประโยชน์ที่ได้รับกับเงินที่จะต้องเสียไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากผู้ใดพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือสงสัยว่าจะเป็นการหลอกลวง โปรดแจ้งเบาะแสให้ อย.ทราบโดยละเอียด ผ่านทางสายด่วน อย. 1556 หรือทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2590 7354 เพื่อ อย.จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เดือนพฤษภาคม ข่าวแจก 58 / ปีงบประมาณ 2550 |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
วันที่ 24 มีนาคม 2557
คาวตอง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ
สรรพคุณ
คาวตองผักคาวตองเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ชื่อท้องถิ่นที่เรียก มักใช้คำนำหน้าว่า ผัก เช่น ผักก้านตอง ผักคาวตอง บ่งบอกการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นอาหาร และเรียก พลูคาว คงเนื่องจากมีใบรูปหัวใจที่คล้าย ๆ ใบพลู และมีกลิ่นคาวมาก ผักคาวตอง ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียที่เป็นถิ่นกระจายพันธุ์พืชนี้ มีการใช้ประโยชน์มานานแล้ว ทั้งเป็นอาหารและเป็นยา สำหรับยุโรปและอเมริกานั้นนิยมปลูกพันธุ์ใบด่างเป็นไม้ประดับด้วย ภูมิภาคอินโดจีน ใช้ทั้งต้นบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ แก้ลมพิษ ใบใช้ แก้บิด นอกจากใช้เป็นผัก แล้วยังใช้ต้มกับปลาหรือไข่เป็ดช่วยดับกลิ่นคาว จีน ใช้ใบหรือทั้งต้น ขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอ และบิด ต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะในระบบทางเดินหายใจ ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ใช้ทั้งต้นเป็นยาลดไข้ ขจัดสารพิษ ( detoxicant ) รักษาแผลในกระเพาะ และอาการอักเสบ รวมทั้งรักษาพิษแมลงกัดต่อย ประเทศเกาหลี ยังใช้ผักคาวตองในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ( arterosclerosis ) และมะเร็ง สำหรับประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์ผักคาวตองในยาแผนโบราณ และยาพื้นบ้าน-พื้นเมืองมานานแล้ว โดยใช้ ใบเป็นยาแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้โรคผิวหนัง แก้พิษฝี ต้นแก้ริดสีดวง ผลการตรวจสอบทะเบียนตำรับยาแผนโบราณของไทย ในช่วงประมาณ 40 ปีที่ผ่านมาปรากฎการใช้ผักคาวตองในสูตรตำรับยาแผนโปราณที่กระทรวงสาธารณสุข รับขึ้นทะเบียนจำนวน 19 ตำรับ นอกจากนี้ ภาคเหนือและอีสาน ใช้เป็นอาหารประเภทผักจิ้มน้ำพริก หรือกินกับลาบ
ในประเทศจีน มีการใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาผงสำหรับรับประทาน ใช้ในการรักษามะเร็งทางเดินอาหารและมะเร็งทางเดินหายใจรวมไปถึงเนื้องอกในรังไข่ (oophoroma) มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาสำหรับรักษามะเร็งปอด เป็นส่วนประกอบในตำรับยาจีนซึ่งกล่าวว่ามีสรรพคุณในการกำจัดความร้อนและสารพิษเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และใช้รักษามะเร็งหลอดอาหาร ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยารับประทาน สำหรับยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็ง และเพิ่มภูมิต้านทาน ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาในรูป ointment สำหรับใช้ทาภายนอกรักษาเต้านมอักเสบ และมะเร็งเต้านม ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาทั้งในรูปแบบที่ใช้รับประทาน และเป็นยาฉีดสำหรับรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาจีนสำหรับรักษามะเร็ง และรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้รังสีรักษา และเคมีบำบัด ใช้ผักคาวตองเป็นส่วนประกอบในตำรับยาน้ำรับประทานรักษาโรคมะเร็งลำไส้ส่วน rectum มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งเต้านม
พลูคาวหรือคาวตองจัดเป็นผักสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยและจดสิทธิบัตรมากตัวหนึ่ง จากการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของพลูคาวเช่นเดียวกับการใช้ประโยชน์ทางยาของหมอยาพื้น บ้านตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ดังนี้ ฤทธิ์ขับปัสสาวะ พบว่าสารฟลาโวนอยด์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงไต จึงมีผลเพิ่มการขับปัสสาวะ ฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านไวรัส น้ำมันหอมระเหยจากพลูคาวสามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้ หวัดใหญ่ ไวรัสต้นเหตุของโรคเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ และไวรัสเอดส์ ฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง
ซึ่งในประเทศจีน มีการใช้พลูคาวเป็นส่วนประกอบในตำรับยาผงและยาฉีดในมะเร็งหลายชนิด ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ต้านการอักเสบและระงับการปวด โดยออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดลดการอักเสบแผนปัจจุบันที่มิใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
พลูคาวหรือคาวตองเป็นผักที่ปลูกง่าย ต้องการเพียงความชื้น แต่บางครั้งก็ต้องแย่งกับทากที่ชอบมากัดกินใบแข่งกับเราบ้าง หมอยาส่วนใหญ่ต่างยืนยันตรงกันว่ากินสดๆ ดีที่สุด ปลูกเอง กินเอง แข็งแรงเองได้โดยไม่ต้องไปเสียค่าการตลาดหรือค่าสิทธิบัตรแพงลิบลิ่ว เพียงแต่ต้องการความกล้าหาญที่จะกินจนชินกับกลิ่นเฉพาะของสุดยอดผักสมุนไพร เพื่อสุขภาพอย่างคาวตอง พลูคาว เคียวตอง ที่แสนจะคาวเท่านั้นเอง
ข้อควรระวัง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ ถ้าบริโภคมากเกินไป จะทำให้หายใจสั้นและถี่ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายได้
- ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
วันที่ 21 มีนาคม 2557
สำหรับปอกะบิดที่ระบาดกันอยู่ในขณะนี้ สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=143
http://health.kapook.com/view65196.html |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
วันที่ 21 มีนาคม 2557
ประเดิมเป็นปฐมฤกษ์ด้วย "สมุนไพรซูฮาโล่"
ผู้ผลิตอ้างว่า
สรรพคุณ : ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยดูแลรักษาตับอ่อนในการผลิตฮอร์โมน อินซูลิน ให้เป็นปกติ
วิธีรับประทาน : ครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 3 เวลาก่อนอาหารส่วนประกอบ : ดีปลี มะตูมอ่อน ดอกมะลิ ดอกพิกุล และตัวยาอื่นๆ จากส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่แจ้งพบว่า ดีปลีสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ในสัตว์ทดลอง แต่ไม่มีข้อมูลเชิงคลินิก ตาม slide ถัดไป
เอกสารอ้างอิง : http://www.samunpaiphuluang.com
ปัญหาที่พบ : ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานสมุนไพรนี้ มีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินมาตรฐานกว่าเดิมมาก 2 ราย พบที่ รพ.สต.ป่าเซ่า และ รพ.สต.ด่านนาขาม |
ความเห็นคุณ: เภสัชกรปฐมภูมิ |
|
| |